วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระเจ้าสร้างอาดัม (The Creation of Adam)



          วันนี้เรามาพูดภาพจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือ "พระเจ้าสร้างอาดัม" (The Creation of Adam) เป็นภาพที่เขียนจากพระคัมภีร์ไบเบิลจากพระธรรมปฐมกาล เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์คนแรกที่เป็นอาดัม  เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนบนเพดานชาเปลซิสติน โดยไมเคิล แอนเจโล ราว ค.ศ. 1511


          ภาพนี้มีลักษณะชายสองคนอยู่ตรงข้ามกันนั่นคือ "อดัม" ชายหนุ่มทางซ้ายที่ร่างกายดูแข็งแรงกำยำนั่งอยู่อย่างเศร้าสร้อยสลึมสลือ กับ "พระเจ้า" ในร่างของชายชราทางด้านขวาที่ดูคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงว่องไวกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วฮึกเหิม ความแตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก ทั้งนี้เพราะไม่เพียงพระองค์จะดูมีพละกำลังมากกว่าอดัมแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงมากขนาดสามารถให้เทวดาน้อย ๆ อีกหลายคนเกาะ ซ้ำยังโอบหญิงสาวซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลป์คาดว่าน่าจะเป็นอีฟไว้ด้วยโดยเด็กที่พระเจ้าเอามือแตะไว้ก็คือ Cain ลูกของอดัมกับอีฟ  นอกจากนั้นมนต์ขลังของภาพที่คนส่วนใหญ่ซึ่งได้มีโอกาสเห็น ณ สถานที่จริงจะรู้สึกขนลุกยังมาจากช่องว่างระหว่างนิ้วที่พระเจ้าสามารถส่งพลังของพระองค์ข้ามนิ้วไปปลุกให้อดัมตื่นขึ้นเป็นมนุษย์ด้วย

          เนื่องจาก Michelangelo เป็นศิลปินที่เกิดในยุคที่วิทยาศาสตร์เริ่มมีความก้าวหน้า แต่ศาสนจักรยังคงมีอำนาจและทรงอิทธิพลมาก คนส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าศิลปินน่าจะซ่อนเงื่อนงำทางด้านวิทยาศาสตร์ไว้ในภาพเป็นแน่  นักประวัติศาสตร์ศิลป์กลุ่มหนึ่งตีความว่าเสื้อสีแดงของพระเจ้ามีลักษณะเหมือนกับมดลูกของมนุษย์ พวกเขาจึงเรียกว่า Uterine Mantle และส่วนที่เป็นผ้าพันคอสีเขียวก็คือสายสะดือ

           Journal of the American Medical Association ในปี 1990 กล่าวไว้ว่า ภาพของพระเจ้าใน The Creation of Adam นี้เป็นภาพของสมองมนุษย์
           แต่ผู้ที่เผยความลับของภาพได้ดีที่สุดมิใช่นักประวัติศาสตร์ศิลป์ แต่กลับเป็น Frank Lynn Meshberger แพทย์จาก St. John’s Medical Center in Anderson เขาเขียนลงในวารสาร  
          เขายังให้ความเห็นว่า  แม้ว่านิ้วของพระเจ้าและอดัมจะมิได้ชนกัน แต่ทั้งสองก็สามารถที่จะสื่อสารกันได้เหมือนอย่างการสื่อสารกันของระบบประสาทที่เรียกว่า Synapse ผ่านช่องว่าที่เรียกว่า Synaptic Clefts 
          ถึงกระนั้นก็ตาม ไมเคิล แอนเจโล ก็ไม่ทำให้ท่านสันตะปาปาผิดหวัง แม้ว่าเขาจะมิได้สร้างสรรค์งานตามคำบัญชาเสียทั้งหมด เพราะ Creation of Adam ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลกตลอดกาล ซ้ำยังมีคุณค่าสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้ไปเยี่ยมชมวาติกันปีหนึ่งหลายสิบล้านคนเลยทีเดียวด้วย

          ผู้ชมอาจคิดว่าผลงานที่แสนอัศจรรย์และเก็บงำความลับมากมายชิ้นนี้ศิลปินน่าที่จะใช้เวลานานในการสร้างสรรค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว Michelangelo สามารถเขียนเสร็จภายในเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียวโดยเขาเขียนอดัมเพียงแค่สี่วันเท่านั้นด้วย ทั้ง ๆ ที่เขามิเคยมีประสบการณ์ในการเขียนภาพ Fresco มาก่อนที่จะมารับงานตกแต่งที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel) นี้เลย

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพเขียน "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) [2]


          วันนี้เราจะมาพูดถึงส่วนต่างๆในภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) ของ ไมเคิล แองเจิลโล กันนะค่ะ


"การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement)



          ทางด้านขวาของพระคริสต์นั้นคือ นักบุญปีเตอร์   ในมือปีเตอร์ถือกุญแจเงินและทอง ซึ่งเป็นกุญแจสวรรค์ ใบหน้าของเขาว่ากันว่าคือใบหน้าของพระสันตปะปาพอลที่สาม



          ทางด้านล่างเป็น นักบุญบาโธโลมิว มือข้างหนึ่งถือมีด และอีกข้างถือหนังของมนุษย์ (ภาพหนังมนุษย์ในมือของ นักบุญบาโธโลมิวนั้น ไมเคิลแองเจิลโล เจาะจงเขียนเป็นภาพเหมือนของตัวเขาเอง) ด้านหลัง ของนักบุญบาโธโลมิว คือ เออร์บิโอ คนรับใช้ของไมเคิล แองเจิลโลค่ะ



          ข้างใต้ภาพนักบุญปีเตอร์คือ นักบุญเบลส และ แคทเธอรีน ในมือนักบุญเบลสถือหวีโลหะสำหรับใช้ในการทรมาน นักบุญแคทเธอรีนก็ถือดาบเขี้ยวสำหรับการลงโทษเช่นกัน ขวามือยังมีนักบุญเซบาสเตียนกับคันธนู ขวามือคือนักบุญแอนดรูกับกางเขนของท่าน


          นักบุญ แอนดรูแบกกางเขน จะอยู่ทางด้านขาวสุดของรูปภาพ

          
          ภาพ นักบุญจอห์น ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของกลุ่มภาพ โดยเซนต์จอห์นเดอะแบบติสต์จะห่มหนังสัตว์ตามแบบฉบับ

 

          ภาพมนุษย์ที่เคยสร้างบาปไว้ ปิดตาตนเองด้วยความหวาดกลัวต่อชะตากรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตนในวันพิพากษา 


          ภาพการฟื้นคืนของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อรับการพิพากษาจากพระเป็นเจ้า

          ภาพ ชารอน ผู้พายเรือรับวิญญาณในยมโลก เรื่องของชารอนยังปรากฏในบทประพันธ์ของดังเต้ด้วย


          ส่วนที่มีปัญหามากที่สุดในภาพ คือรูปของ ไมนอส ผู้มาจากศาสนาเพกิน (นอกศาสนาคริสต์) โดยไมนอสเป็นบุตรของซุสและยูโรปา เป็นกษัตริย์ของเกาะครีตและกลายเป็น 1 ใน 3 ยมบาลตามศาสนาเพกิน  ตามรูปนี้ ไมนอสมีหูเป็นลาและมีงูพันรอบตัว โดยงูได้อาปากกัดอวัยวะเพศของเขา แถมใบหน้าของไมนอสก็เป็นใบหน้าของ Baigio da Cesena ผู้ใกล้ชิดองค์สัตปะปาพอลที่สาม โดย Cesena พยายามฟ้องโป๊ปให้บังคับไมเคิลแองเจลโลให้ลบรูปนี้ออกไป แต่ไม่เป็นผล

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพเขียน "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) [1]

          พระสันตะปาปาปอลที่ 3 (Pope Paul III) ได้กำหนดให้ไมเคิล แองเจิลโล เขียนภาพ ” The Last Judgement ” ขึ้นในปี ค.ศ. 1536 ไว้หลังแท่นบูชาในโบสถ์น้อยซิสติน  ขนาด 48×44 ฟุต โดยความสูงของภาพนั้นมีขนาดตั้งแต่พื้นจนไปจรดเพดานของโบสถ์ซิสติน (The Sistine Chapel)

"การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement)


          ภาพ Last Judement นี้ ประกอบไปด้วยรูปภาพย่อยกว่า 400 รูป โดยศูนย์กลางของภาพอยู่ที่ ภาพของพระเยซูคริสต์ และเหล่านักบุญที่รายล้อมพระองค์ แสดงถึงพลังอำนาจในการกวาดล้าง โดย เคลื่อนพลังสู่ด้านล่างเพื่อพิพากษาโทษ และเพื่อยกเอาบรรดาผู้ที่ถูกเลือกให้รอดขึ้นมา  พระเป็นเจ้าทรงก่อให้เกิดมหันตภัยครั้งร้ายแรง การเลือกระหว่างผู้ที่จะได้รับชีวิตรอดและผู้ที่จะเสียชีวิตนั้น เป็นไปอย่างน่ากลัว และแฝงไว้ซึ่งความทุกข์ทรมาน พระคริสต์ได้แสดงอำนาจอันน่าอรรศจรรย์โดยมีแสงสว่างล้อมรอบ พระวรกายของพระองค์ ทางด้านข้างคือพระแม่มารีอาผู้ทรงพรมจรรย์ที่คอยส่งสายตาด้วยความเป็น ห่วงมนุษย์ และคอยที่จะช่วยเหลือ ส่วนทางด้านซ้าย และขวาของรูปจะเห็นการเคลื่อนไหวของบรรดา นักบุญทั้งหลาย และบรรดาผู้ถูกเลือก

           ครั้งหน้าเราจะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของภาพนี้กันนะค๊ะ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)

          สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะนำเพื่อนๆทุกคนไปเยี่ยมชมความงดงามของ ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel) กันนะค่ะ

            
           ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล ได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ 18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆ วัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย ในที่สุด

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)
      
           ไมเคิล แองเจิลโล ก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่า อย่างสูง
งานด้านอื่นๆ

          ลิงค์ด้านล่างนี้จะพาเพื่อนๆไปชื่นชมความงดงามของภายในวิหารซิสติน (The Sistine Chapel) แบบทุกซอกทุกมุมกันเลยทีเดียว โดยไม่ต้องเสียเงินค่าเครื่องบินไปชมถึงที ^^"

สุสานของพระสันตะปาปาจูลิสอุสที่ 2


รูปสลักหินอ่อน "โมเสส" (Moses)

           ในปีพ.ศ.2048 ไมเคิล เเอนเจลโลได้รับสาส์นมอบหมายหน้าที่ในการออกเเบบก่อสร้างสุสานของพระ สันตะปาปาจูลิสอุสที่2 เขาเสนอโครงการอย่างใหญ่โตมโหฬาร กำหนดให้สุสานมีรูปทรงคล้านวิหารขนาดเล็ก ติดตั้งอยู่ภายในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ มีรูปสลักหินอ่อนเป็นรูปคนประดับสุสาน40รูป เมื่อพระสันตะปาปาได้ทราบถึงโครงการจึงอนุมัติทันที เเต่ทว่าไมเคิลเเอนเจลโลดำเนินการก่อสร้างอยู่นั้น ก็เกิดอุปสรรคมากมายเช่นในฤดูน้ำหลากกิดอุทกภัยร้ายเเรงเป็นอุปสรรคในการ ลำเลียงหินอ่อนชนิดดีที่สั่งซื้อมาจากเมืองคาร์รารา การดำเนินการต้องหยุดชะงัก อีกทั้งฐานะทางการเงินขององค์สันตะปาปาเริ่มฝืดเคื่อง มีข่าวลือเรื่องสงครามครั้งใหม่กำลังจะเกิดขึ้นอีกหลายเเห่ง  ทั้งทรงไม่มีเวลาสนใจการก่อสร้าง จึงสลักได้สำเร็จเพียงรูปเดียวคือ "โมเสส" (Moses) เป็นเหตุให้ไมเคิลเเอนเจลโลกับองค์ สันตะปาปามีปากเสียงกันบ่อยครั้งทำให้ ไมเคิลเเอนเจลโลตัดสินใจลอบหลบหนีออกจากรุงโรม
          
          ปีต่อมาพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 จึงเสนอให้เขาเขียนภาพจิตรกรรม บนเพดานวิหารซิสติน (The Sistine Chapel) ในรัฐวาติกัน โดยเขาใช้เวลาศึกษาเรื่องราว เกี่ยวกับคริสตศาสนา และแนวคิดในการวาดภาพถึงสองปี และเริ่มลงมือวาดในปี 1508 ซึ่งเลือกเขียนเรื่อง "การสร้างโลกของพระผู้เป็นเจ้า" หรือพระเจ้าสร้างโลก ตามเรื่องที่ปรากฏในคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เราจะมาต่อกันในครั้งหน้านะค่ะ


รูปปั้น เดวิด (David)



          วันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1514 ประติมากรรมหินอ่อนอันโด่งดัง อย่าง "เดวิด" ซึ่งเป็นผลงานของมิเคลันเจโลได้เปิดแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี Little Einstein จึงขอรวบรวมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับรูปปั้นเดวิดมาให้เพื่อนๆได้ทราบกันค่ะ
 
รูปปั้น "เดวิด" (David)

          ประติมากรรม เดวิดเป็นหินอ่อนแกะสลักรูป พระเจ้าเดวิด (King David) ตามตำนานในคำภีร์ไบเบิล ลักษณะเป็นชายหนุ่มยืนเปลือยกาย แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงและความงดงามของร่างกายมนุษย์ มิเคลันเจโลเริ่ม แกะสลักเดวิดในปี 1501 โดยใช้หินอ่อนสีขาวมาจากเมืองคาร์รารา (Carrara) แคว้นทัสคานีของอิตาลี ประติมากรรมเดวิดเป็นรูปปั้นนับเป็นผลงานชิ้นเอกที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทาง ศิลปะในยุค "ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ” (Renaissance) รูปปั้นเดวิดของมิเคลันเจโล ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ Accademia Gallery ในกรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

1.
ในขั้นตอนการแกะสลักรูปปั้นเดวิด มิเคลันเจโลแกะสลักเดวิดจากแท่งหินอ่อนที่มีตำหนิก้อนหนึ่ง ซึ่งหลังการแกะสลักเสร็จแล้ว มิเคลันเจโลได้กะเทาะปมปมหนึ่งจากหน้าอกของรูปสลักออก ซึ่งปมที่ว่าเชื่อกันว่าเป็นตำหนิบนหินอ่อนนั่นเอง
2.
ในช่วง ค.ศ. 1527 เกิดเหตุขึ้น ทำให้มีคนปาเก้าอี้ไปโดนรูปสลักเดวิด จนส่วนแขนซ้ายของรูปปั้นแตกถึง 3 แห่ง
3.
เดวิดสูง 14 ฟุต 3 นิ้ว
4.
มือขวาของเดวิดนั้นมีสัดส่วนที่ใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดลำตัวของเขา เหตุผลก็เพราะว่า ในช่วงยุคกลาง กล่าวกันว่าเดวิดนั้นเป็นผู้ที่มีมือแข็งแรง (manu fortis)
5.
เดวิดถนัดมือซ้าย
6. 
ค.ศ. 1872 มีการตัดสินใจเคลื่อนย้ายรูปสลักเดวิดเพื่อเป็นการเก็บรักษาที่ Accademia มันใช้เวลาในการเคลื่อนย้าย 3 วัน
7.
มีรูปสลักจำลองของเดวิดมากมาย ค.ศ. 1857 ผลงานจำลองประติมากรรมเดวิดชิ้นหนึ่งถูกส่งถวายพระราชินีวิคตอเรียแห่ง อังกฤษ ซึ่งพระองค์ทรงนำรูปปั้นดังกล่าวตั้งไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Victoria and Albert Museum ในกรุงลอนดอน เมื่อพระองค์เสด็จทอดพระเนตรรูปสลักเดวิด ทรงไม่สบายพระทัยเมื่อเห็นว่ารูปสลักเป็นเดวิดเปลือยกาย จึงมีการนำใบมะเดื่อมาปิดไว้ที่ส่วนสงวนของรูปสลักเดวิด

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของมีเกลันเจโล


มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (อิตาลี: Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ.1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1564)  
เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี

ศิลปิน ที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่  6 มีนาคม ค.ศ.1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด(David)

หลัง จากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาโด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (ค.ศ.1497 - ค.ศ.1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปรโตรที่กรุงโรม

ตอน อายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ.1545 ต่อมาในปี ค.ศ.1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม

เขา ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี

มี เกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก"