วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

Pietà (1498-1499)

Pietà (1498-1499)

          Pietà (1498-1499) เป็นผลงานชิ้นเอกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาประติมากรรมโดย ไมเคิล แองเจิลโล มีขนาด 174 cm x 195 cm (6.85 in x 76.8 in) ตั้งอยู่ที่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ในกรุงวาติกัน เป็นผลงานชิ้นแรกของผลงานที่มีรูปแบบเดียวกันโดยเป็นผลงานของ ไมเคิล แองเจิลโล เอง รูปปั้นที่เป็นนายทหารสำหรับฝรั่งเศส พระคาร์ดินัล Jean de Billheres” ซึ่งเป็นตัวแทนกรุงโรม ประติมากรรมหินอ่อนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ศพของพระคาร์ดินัล แต่ถูกย้ายไปยังตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 18 ผลงานชิ้นนี้เป็นเพียงชิ้นเดียวที่ ไมเคิล แองเจิลโล เคยลงนาม

         
          ผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงนี้ แสดงให้เห็นว่าร่างกายของพระเยซูบนตักของพระแม่แมรี่หลังจากตรึงกางเขน เป็นรูปแบบความงามที่สมดุล โดยการใช้ รูปทรงสามเหลี่ยมเป็นหลักในการก่อตัวขึ้นไปเป็นยอดแหลม

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

มหาวิหารบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Basilica of San Lorenzo)

มหาวิหารบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Basilica of San Lorenzo)

          เจ้าชายโลเร็นโช เด เมดิชี เป็นผู้รับตำเเหน่งเเทน ทรงพระนามว่า พระสันตะปาปาเลโอที่10  พระองค์ทรงว่าจ้างให้ไมเคิลเเอนเจลโลออกเเบบก่อสร้างต่อเติมตกเเต่งหอสวด มนต์ในวัดซานโลเร็นโซ ซึ่งเปรียบเหมือนวัดประจำตระกูลเมดิชีในเมืองฟลอเรนซ์ อาคารต่างๆของวัดนี้ได้ออกเเบบไว้นานเเล้ว เเต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หอ สวดมนต์แห่งใหม่ที่ไมเคิลเเอนเจลโลออกเเบบรับหน้าที่ออกเเบบ เป็นสถานที่สำหรับถวายสักการบูชาเเด่พระผู้เป็นเจ้าเเละเป็นสุสานสำหรับ บุคคลสำคัญของตระกูลเมดิชี สัญญาถูกระงับชั่วคราวเพราะสถานการณ์ทางการเมือง คนในตระกูลเมดิชีถูกขับไล่ ด้วยความนิยมชอบการปกครองเเบบสาธารณรัฐ ไมเคิลเเอนเจลโลจึงขันอาสารับหน้าที่ปกป้องเมืองได้รับตำเเหน่องเป็นผู้ อำนวยการออกเเบบก่อสร้างป้อมปราการที่ซานมินิอาโต เเต่ก่อทัพฝ่ายสาธารณรัฐมีกำลังน้อยกว่าทำให้พ่ายเเพ้อย่าสิ้นเชิง ไมเคิลเเอนเจลโลจึงถูกกวาดล้างจับกุมในฐานะผูฝักใฝ่เข้ากับฝ่ายศัตรูย่อมมี ความผิด เขาจึงลี้ภัย ไปเมืองเวนิชชั่วคราว  เนื่องด้วยความสามารถเป็นที่ประจักษ์ สันตะปาปาคาเมนต์ที่ 7 กลับขึ้นมาอำนาจอีก จึงประมานอภัยโทษ เสนอให้กลับมาสร้างวัดซานโลเร็นโซต่อไปตามเดิม ความดีเด่นของผลงานชุดนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ตัวอาคารหรือประติมากรรมเท่า นั้น หากเเต่มีคุณค่าทางศิลปกรรมด้วยการประกอบให้ทุกสิ่งอย่างมีความสัมพันะกัน ทั้งหมด นับตั้งเเต่อาคาร เเสง การตกเเต่งภายใน และความมีเอกภาพระหว่างสถาปัตยกรรมกับประติมากรรมได้อย่างดี้เลิศ 

มหาวิหารบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Basilica of San Lorenzo)
          ประวัติทางสถาปัตยกรรมของบาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นประวัติที่ซับซ้อน แม้ว่าจะสร้างภายใต้การควบคุมของฟีลิปโป บรูเนลเลสกีตามแบบที่เขียนโดยบรูเนลเลสกีเอง แต่ผลที่ออกมาไม่ใช้แบบที่เขียนไว้แต่เดิม การก่อสร้างเริ่มในปี ค.ศ. 1419 แต่งการขาดงบประมาณทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าลงและต้องมีการแก้ไขแบบที่ออกไว้เดิม เมื่อมาถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1440 ก็มีแต่สังฆทรัพยคูหา (sacristy) เท่านั้นที่ได้รับการก่อสร้าง (ปัจจุบันคือห้องเก็บสมบัติเก่านอกจากนั้นทางตระกูลเมดิชิก็ยังมิได้จ่ายเงินให้แก่วัด ในปี ค.ศ. 1442 ตระกูลเมดิชิจึงเข้ามาบริหารงบประมาณการก่อสร้าง ของมีค่า แต่บรูเนลเลสกีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1446 ความรับผิดชอบในการก่อสร้างจึงตกไปเป็นของไม่ก็อันโตนิโอ มาเนตติ (Antonio Manetti) หรือ มิเกลอโซ มิเกลอซิ ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนโดยนักวิชาการ แม้ว่าตัวสิ่งก่อสร้างจะ “เสร็จ” ในปี ค.ศ. 1459 ทันกับโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 เสด็จมาฟลอเรนซ์ แต่ชาเปลและช่องทางเดินข้างทางด้านขวายังคงสร้างกันอยู่จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1470 และ 1480
เมื่อสร้างเสร็จผังการก่อสร้างและรายละเอียดต่างๆ ก็แตกต่างไปจากผังที่เขียนไว้โดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกีไปเป็นอันมาก ความแตกต่างที่สำคัญคือบรูเนลเลสกีตั้งใจจะให้ชาเปลข้างลึกกว่าและคล้ายกับชาเปลในบริเวณแขนกางเขน (transept) ซึ่งเป็นบริเวณเดียวในตัวสิ่งก่อสร้างที่เชื่อกันว่าตรงตามแบบที่บรูเนลเลสกีออก

ภายใน มหาวิหารบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Basilica of San Lorenzo)

แบบแปลน มหาวิหารบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Basilica of San Lorenzo)

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

Pieta Rondanini

            Michelangelo เขาเริ่มสร้างผลงานนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1552 หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ถูกวางทิ้งไว้ จนสุดท้ายเขาก็ได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานก่อนเค้าจะเสียชีวิตเพียงแค่ 6 วัน หลังจากนั้นผลงานของเค้าก็มีการหยิบยกขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นคนนำมาเผยแพร่ ทำให้ผลงานดังกล่าว กลายเป็นที่รู้จักต่อประชาชน



           Pieta Rondanini ได้มีส่วนประกอบระหว่าง 2 รูปคือ เป็นรูปของชายและหญิง โดยที่มีความเชื่อว่าผู้ชายในประติมากรรมนั้นคือ พระเยซู และผู้หญิงคือนางมาดอนน่า ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี โดยผลงานนั้นแทบจะยังไม่ได้เริ่มด้วยซ้ำ ประติมากรรมประกอบเพียงแค่ขาขวาของพระเยซูและต้นขาซ้ายของนางมาดอนน่า และมีใบหน้าของทั้งสองเพียงเท่านั้น
ประติมากรรมดังกล่าวนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับของเหล่าศิลปินต่างๆ เพราะประติมากรรมดังกล่าวยังดูขัดแย้งกับภาพวาดที่เหล่าศิลปินต่างๆนั้นได้ศึกษามา


ศิลปิน               Michelangelo


ปี                      1564


ชนิด                 หินอ่อน


ขนาด               195 ซม. (77นิ้ว)


สถานที่             Castello Sforzesco , Milan
 ประติมากรรมดังกล่าวได้มีการก่อสร้างโดยประกอบด้วยหินอ่อนและหิน มีลักษณะเป็นเกลียวตั้งฉากกับฐานรองรับประติมากรรม โดยสื่อถึงความสงบ ปราศจากความรุนแรง ให้ความสง่างามของรูปปั้นแม้จะมองเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งโดย Einem ได้กล่าวไว้ว่า จาก ST.Matthew เป็นต้นไปนี้ก็ยังอยู่ในกรอบที่เรียกว่าโลก เราจะเห็นไดว่ามีข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นศิลปะก็มีข้อจำกัดเฉกเช่นเดียวกัน
ด้านหลังของประติมากรรมนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ในรูปปั้นส่วนของนางมาดอนน่าอาจจะตีความหมายออกมาได้ว่า ได้มาการสนับสนุนศาสนาคริสต์เกิดขึ้นหรือว่านางเองอาจจะได้รับการสนับสนุนเองก็เป็นได้ ใบหน้าของทั้งสองดูเงียบสงบ แต่ทั้งสองนั้นเหมือนกำลังเอื้อมคว้าหาอะไรบางสิ่งอยู่ ซึ่งในผลงานประติมากรรมนั้นหากมองให้ลึกซึ้งจะเห็นถึงความอ่อนโยนของนางมาดอนน่าและความรักจากพระเยซู
โดยกุญแจสำคัญของประติมากรรมชิ้นนี้ คือ การมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพื้นผิวของหิน ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความรู้สึกได้ เพราะMichelangelo เองนั้นก็ได้มีกรอบในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง แต่เค้ากลับมองข้ามกรอบการสร้างสรรค์ผลงานที่ผ่านมาของเค้าทั้งหมด เพื่อสร้างสรรค์ประติมากรรมดังกล่าวที่เกิดจากสะสมความหวัง การต่อสู้ดิ้นรนที่ปฏิเสธการสนับสนุนการทรมานต่อพระเยซู การสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าวนี้จึงสื่อได้ว่า Michelangelo  นั้นได้เกิดความหวังต่อพระเจ้า
แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าความสงบที่เกิดจากสายตาของนางมาดอนน่านั้นจะเป็นจริง นั่นแสดงถึงอารมณ์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานมากกว่า ความสงบ อารมณ์ เป็นความเชื่อของ Michelangelo มากกว่ามีความอ่อนแอในผลงาน
 ST.Peter pieta จะไม่สมบูรณ์แบบเฉกเช่นเดียวกับ Rondanini Pieta แน่นอนหากเป็นการแสดงออกในฐานะศิลปิล ความตั้งใจ ความสมบูรณ์แบบและบุคลิกของ Michelangelo  ที่เข้านั้นได้สร้าง Rondanini Pieta ขึ้นจากจินตนาการหากใช่เพียงแค่แกะสลักหินเพียงเท่านั้น จึงเป็นผลงานที่ทำให้เข้าใจในตัวของศิลปินมากขึ้น
การสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ของตัวศิลปินนั้นตัวของศิลปินเองเป็นคนรู้ดี ผลงาน Rondanini Pieta ของ Michelangelo ถูกกล่าวว่า จิตวิญญาณจะเกิดก็ต่อเมื่อตัวตนที่แท้จริงนั้นถูกเปิดเผย การสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ถือเป็นการรวมตัวระหว่างจินตนาการกับประติมากรรมได้อย่างลงตัวดังบทความที่ว่า
"In this condition the Pieta was an utterly ruined block. Yet Michelangelo, in a wild despairing effort, tries again to make it express his ultimate artistic vision; with a few blows of the hammer and chisel he strikes once more at the hollowed-out marble before him, (attempting to give) life to nose, eyes, and mouth." ของ Dagobert Frey
             ในช่วงต้นของการสร้างสรรค์ผลงานของ Michelangelo นั้นเขาเองจะต้องต่อสู้เพื่อความสมบูรณ์ของผลงาน เขาเองจะต้องตระหนักถึงคุณสมบัติของศิลปิน แม้เขาเองจะปลดปล่อยอุดมคติเข้ามาบดบังผลงาน แต่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เขาก็สามารถกลับมาอยู่บนผลงานศิลปะที่ไม่สมบูรณ์แบบของเขาเอง ซึ่งมันอาจจะทำให้เขาเองถูกมองว่าล้มเหลว แต่ด้วยความสามรถของเขาเองก็ถือเป็นผลงานที่แสดงออกถึงความสง่างามที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดได้ดี

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระเจ้าสร้างอาดัม (The Creation of Adam)



          วันนี้เรามาพูดภาพจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือ "พระเจ้าสร้างอาดัม" (The Creation of Adam) เป็นภาพที่เขียนจากพระคัมภีร์ไบเบิลจากพระธรรมปฐมกาล เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์คนแรกที่เป็นอาดัม  เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนบนเพดานชาเปลซิสติน โดยไมเคิล แอนเจโล ราว ค.ศ. 1511


          ภาพนี้มีลักษณะชายสองคนอยู่ตรงข้ามกันนั่นคือ "อดัม" ชายหนุ่มทางซ้ายที่ร่างกายดูแข็งแรงกำยำนั่งอยู่อย่างเศร้าสร้อยสลึมสลือ กับ "พระเจ้า" ในร่างของชายชราทางด้านขวาที่ดูคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงว่องไวกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วฮึกเหิม ความแตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก ทั้งนี้เพราะไม่เพียงพระองค์จะดูมีพละกำลังมากกว่าอดัมแล้ว พระองค์ยังทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงมากขนาดสามารถให้เทวดาน้อย ๆ อีกหลายคนเกาะ ซ้ำยังโอบหญิงสาวซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลป์คาดว่าน่าจะเป็นอีฟไว้ด้วยโดยเด็กที่พระเจ้าเอามือแตะไว้ก็คือ Cain ลูกของอดัมกับอีฟ  นอกจากนั้นมนต์ขลังของภาพที่คนส่วนใหญ่ซึ่งได้มีโอกาสเห็น ณ สถานที่จริงจะรู้สึกขนลุกยังมาจากช่องว่างระหว่างนิ้วที่พระเจ้าสามารถส่งพลังของพระองค์ข้ามนิ้วไปปลุกให้อดัมตื่นขึ้นเป็นมนุษย์ด้วย

          เนื่องจาก Michelangelo เป็นศิลปินที่เกิดในยุคที่วิทยาศาสตร์เริ่มมีความก้าวหน้า แต่ศาสนจักรยังคงมีอำนาจและทรงอิทธิพลมาก คนส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าศิลปินน่าจะซ่อนเงื่อนงำทางด้านวิทยาศาสตร์ไว้ในภาพเป็นแน่  นักประวัติศาสตร์ศิลป์กลุ่มหนึ่งตีความว่าเสื้อสีแดงของพระเจ้ามีลักษณะเหมือนกับมดลูกของมนุษย์ พวกเขาจึงเรียกว่า Uterine Mantle และส่วนที่เป็นผ้าพันคอสีเขียวก็คือสายสะดือ

           Journal of the American Medical Association ในปี 1990 กล่าวไว้ว่า ภาพของพระเจ้าใน The Creation of Adam นี้เป็นภาพของสมองมนุษย์
           แต่ผู้ที่เผยความลับของภาพได้ดีที่สุดมิใช่นักประวัติศาสตร์ศิลป์ แต่กลับเป็น Frank Lynn Meshberger แพทย์จาก St. John’s Medical Center in Anderson เขาเขียนลงในวารสาร  
          เขายังให้ความเห็นว่า  แม้ว่านิ้วของพระเจ้าและอดัมจะมิได้ชนกัน แต่ทั้งสองก็สามารถที่จะสื่อสารกันได้เหมือนอย่างการสื่อสารกันของระบบประสาทที่เรียกว่า Synapse ผ่านช่องว่าที่เรียกว่า Synaptic Clefts 
          ถึงกระนั้นก็ตาม ไมเคิล แอนเจโล ก็ไม่ทำให้ท่านสันตะปาปาผิดหวัง แม้ว่าเขาจะมิได้สร้างสรรค์งานตามคำบัญชาเสียทั้งหมด เพราะ Creation of Adam ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลกตลอดกาล ซ้ำยังมีคุณค่าสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้ไปเยี่ยมชมวาติกันปีหนึ่งหลายสิบล้านคนเลยทีเดียวด้วย

          ผู้ชมอาจคิดว่าผลงานที่แสนอัศจรรย์และเก็บงำความลับมากมายชิ้นนี้ศิลปินน่าที่จะใช้เวลานานในการสร้างสรรค์ แต่แท้ที่จริงแล้ว Michelangelo สามารถเขียนเสร็จภายในเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียวโดยเขาเขียนอดัมเพียงแค่สี่วันเท่านั้นด้วย ทั้ง ๆ ที่เขามิเคยมีประสบการณ์ในการเขียนภาพ Fresco มาก่อนที่จะมารับงานตกแต่งที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel) นี้เลย

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพเขียน "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) [2]


          วันนี้เราจะมาพูดถึงส่วนต่างๆในภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) ของ ไมเคิล แองเจิลโล กันนะค่ะ


"การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement)



          ทางด้านขวาของพระคริสต์นั้นคือ นักบุญปีเตอร์   ในมือปีเตอร์ถือกุญแจเงินและทอง ซึ่งเป็นกุญแจสวรรค์ ใบหน้าของเขาว่ากันว่าคือใบหน้าของพระสันตปะปาพอลที่สาม



          ทางด้านล่างเป็น นักบุญบาโธโลมิว มือข้างหนึ่งถือมีด และอีกข้างถือหนังของมนุษย์ (ภาพหนังมนุษย์ในมือของ นักบุญบาโธโลมิวนั้น ไมเคิลแองเจิลโล เจาะจงเขียนเป็นภาพเหมือนของตัวเขาเอง) ด้านหลัง ของนักบุญบาโธโลมิว คือ เออร์บิโอ คนรับใช้ของไมเคิล แองเจิลโลค่ะ



          ข้างใต้ภาพนักบุญปีเตอร์คือ นักบุญเบลส และ แคทเธอรีน ในมือนักบุญเบลสถือหวีโลหะสำหรับใช้ในการทรมาน นักบุญแคทเธอรีนก็ถือดาบเขี้ยวสำหรับการลงโทษเช่นกัน ขวามือยังมีนักบุญเซบาสเตียนกับคันธนู ขวามือคือนักบุญแอนดรูกับกางเขนของท่าน


          นักบุญ แอนดรูแบกกางเขน จะอยู่ทางด้านขาวสุดของรูปภาพ

          
          ภาพ นักบุญจอห์น ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของกลุ่มภาพ โดยเซนต์จอห์นเดอะแบบติสต์จะห่มหนังสัตว์ตามแบบฉบับ

 

          ภาพมนุษย์ที่เคยสร้างบาปไว้ ปิดตาตนเองด้วยความหวาดกลัวต่อชะตากรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตนในวันพิพากษา 


          ภาพการฟื้นคืนของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อรับการพิพากษาจากพระเป็นเจ้า

          ภาพ ชารอน ผู้พายเรือรับวิญญาณในยมโลก เรื่องของชารอนยังปรากฏในบทประพันธ์ของดังเต้ด้วย


          ส่วนที่มีปัญหามากที่สุดในภาพ คือรูปของ ไมนอส ผู้มาจากศาสนาเพกิน (นอกศาสนาคริสต์) โดยไมนอสเป็นบุตรของซุสและยูโรปา เป็นกษัตริย์ของเกาะครีตและกลายเป็น 1 ใน 3 ยมบาลตามศาสนาเพกิน  ตามรูปนี้ ไมนอสมีหูเป็นลาและมีงูพันรอบตัว โดยงูได้อาปากกัดอวัยวะเพศของเขา แถมใบหน้าของไมนอสก็เป็นใบหน้าของ Baigio da Cesena ผู้ใกล้ชิดองค์สัตปะปาพอลที่สาม โดย Cesena พยายามฟ้องโป๊ปให้บังคับไมเคิลแองเจลโลให้ลบรูปนี้ออกไป แต่ไม่เป็นผล

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพเขียน "การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement) [1]

          พระสันตะปาปาปอลที่ 3 (Pope Paul III) ได้กำหนดให้ไมเคิล แองเจิลโล เขียนภาพ ” The Last Judgement ” ขึ้นในปี ค.ศ. 1536 ไว้หลังแท่นบูชาในโบสถ์น้อยซิสติน  ขนาด 48×44 ฟุต โดยความสูงของภาพนั้นมีขนาดตั้งแต่พื้นจนไปจรดเพดานของโบสถ์ซิสติน (The Sistine Chapel)

"การพิพากษาครั้งสุดท้าย" (The Last Judgement)


          ภาพ Last Judement นี้ ประกอบไปด้วยรูปภาพย่อยกว่า 400 รูป โดยศูนย์กลางของภาพอยู่ที่ ภาพของพระเยซูคริสต์ และเหล่านักบุญที่รายล้อมพระองค์ แสดงถึงพลังอำนาจในการกวาดล้าง โดย เคลื่อนพลังสู่ด้านล่างเพื่อพิพากษาโทษ และเพื่อยกเอาบรรดาผู้ที่ถูกเลือกให้รอดขึ้นมา  พระเป็นเจ้าทรงก่อให้เกิดมหันตภัยครั้งร้ายแรง การเลือกระหว่างผู้ที่จะได้รับชีวิตรอดและผู้ที่จะเสียชีวิตนั้น เป็นไปอย่างน่ากลัว และแฝงไว้ซึ่งความทุกข์ทรมาน พระคริสต์ได้แสดงอำนาจอันน่าอรรศจรรย์โดยมีแสงสว่างล้อมรอบ พระวรกายของพระองค์ ทางด้านข้างคือพระแม่มารีอาผู้ทรงพรมจรรย์ที่คอยส่งสายตาด้วยความเป็น ห่วงมนุษย์ และคอยที่จะช่วยเหลือ ส่วนทางด้านซ้าย และขวาของรูปจะเห็นการเคลื่อนไหวของบรรดา นักบุญทั้งหลาย และบรรดาผู้ถูกเลือก

           ครั้งหน้าเราจะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของภาพนี้กันนะค๊ะ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)

          สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะนำเพื่อนๆทุกคนไปเยี่ยมชมความงดงามของ ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel) กันนะค่ะ

            
           ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1508 ถึง 1512 ไมเคิล แองเจิลโล ได้รับมอบหมายให้ทำการ เขียนภาพบนหลังคาโค้งของวิหารซิสทายในโรมซึ่งประกอบด้วยภาพเขียนขนาดใหญ่ นับร้อยๆ ภาพ และแต่ละภาพที่ถูกเขียนขึ้นนั้นได้สร้างความตกตะลึงให้กับสายตา ของชาวโลกมาแล้ว ไมเคิล แองเจิลโล ต้องทำงานอยู่บนนั่งร้านที่สูงถึง 60 ฟุต หรือ 18 เมตรจากพื้น และครอบคลุมพื้นที่อีก 10,000 ตารางฟุต หรือ 930 ตารางเมตร ตลอดเวลาเขาต้องเขียนรูปในท่านอนให้หลังแนบติดกับนั่งร้านจนเป็นตะคริวทุกๆ วัน ปูนเปียกจะถูกทาบนหลังคา และไมเคิลก็จำเป็นที่จะต้องเขียนภาพในแต่ละส่วนให้ เสร็จก่อนที่ปูนจะแห้ง และไม่สามารถที่จะแก้ไขถ้ารูปเกิดผิดพลาดได้เลย ในที่สุด

ภาพจิตรกรรมบนผนังและเพดานที่ วิหารซิสติน (The Sistine Chapel)
      
           ไมเคิล แองเจิลโล ก็สามารถเขียนภาพเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดด้วยตัวของเขาเอง ภาพเขียน ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็น 9 ตอนด้วยกัน โดยเริ่มด้วยภาพการสร้างสิ่งต่างๆ ใน พระคัมภีร์บทปฐมกาล จนไปถึงตอนที่น้ำท่วมโลก ภาพเขียนอีกส่วนหนึ่งแสดงถึง บรรพบุรุษของพระคริสต์ โดยเขียนตามประวัติจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาพเขียนทั้งหมด นั้นต่างมีขนาดใหญ่และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างงดงาม จนน่าอรรศจรรย์ เป็นเวลากว่า 20 ปีหลังจากเขียนภาพ บนหลังคาวิหารซิสทายเสร็จแล้ว ไมเคิลแองเจิลโล ได้เขียนภาพ "การพิพากษาครั้งสุดท้าย " เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่มากและครอบคลุม พื้นที่กำแพงทั้งหมดที่อยู่หลังแท่นบูชาในโบสถ์ ด้วยขนาดและฝีมือในการเขียนที่เป็นเลิศ รวมทั้งความหมายของภาพทำให้ภาพเขียนนี้เป็นงานเขียนบนฝาผนังอันทรงคุณค่า อย่างสูง
งานด้านอื่นๆ

          ลิงค์ด้านล่างนี้จะพาเพื่อนๆไปชื่นชมความงดงามของภายในวิหารซิสติน (The Sistine Chapel) แบบทุกซอกทุกมุมกันเลยทีเดียว โดยไม่ต้องเสียเงินค่าเครื่องบินไปชมถึงที ^^"